เรื่อง :: พิธียกเสาเอกบ้าน
เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน หากใครจะสร้างบ้านในสมัยก่อนนั้นสิ่งที่จะละเลยเป็นมิได้เลยก็คือพิธีการยกเสาเอกของบ้าน เมื่อมีการก่อสร้างก่อสร้างอาคาร สำนักงานและอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็ยังคงนิยมใช้วิธีนี้
โดยพิธีการยกเสาเอกมีวิธีการเตรียวการดังนี้
ของใช้ในพิธี
- จัดโต๊ะหมู่บูชา ๑ ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์)
- จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ ๑ ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุม และเจริญชัยมงคลคาถา)
- เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)
- ใบทอง นาก เงิน อย่างละ ๓ ใบ
- เหรียญทอง เงิน อย่างละ ๙ เหรียญ
- ทรายเสก ๑ ขัน
- น้ำมนต์ ๑ ขัน (พร้อมกำหญ้าคา ๑ กำ)
- ด้ายสายสิญจน์ ๑ ม้วนเล็ก
- ทองคำเปลว ๓ แผ่น
- ผ้าแพรสีแดง ห่มเสา หรือผ้าขาวม้า ๑ ผืน - หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ ๑ หน่อ
- ไม้มงคล ๙ ชนิด (ถ้าประสงค์) **
- แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ ๑ แผ่น
- ข้าวตอกดอกไม้ ๑ ขัน
ลำดับพิธี
- วางสายสิญจน์ เริ่มจากโต๊ะบูชาไปโต๊ะสังเวยขวาบริเวณสถานที่ก่อสร้างเข้าสู่เสาเอก (ก่อนเวลาฤกษ์พอสมควร) เจ้าภาพ - จุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐานเพื่อเกิดสิริมงคล กราบพระ
- จุดเทียนธูปที่โต๊ะสังเวย บูชาเทวดาให้คุ้มครอง
พิธีกร - กล่าวสังเวยเทวดา
เจ้าภาพ - ดอกไม้มงคล ๙ ชนิด (ถ้ามี)
- วางแผ่นทอง นาก เงินในหลุมเสาเอก (ถ้ามี)
- นำใบทอง นาก เงิน และเหรียญทอง เงิน ลงก้นหลุมแล้วนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ โปรยทรายเสกที่
หลุมเสา
- เจิมและปิดทองเสาเอก
- ผูกหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสีแดงหรือผ้าขาวม้าที่เสาเอก
- ถือด้ายสายสิญจน์ พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี
ช่าง - ช่วยกันยกเสาเอก จนตั้งเรียบร้อย (ขณะยกเสานั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) (ถ้ามี)
เจ้าภาพ - โปรยข้าวตอกดอกไม้ลงหลุมเสาเอก พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี เสร็จพิธี
ตำราปลูกเรือน สร้างบ้านที่อยู่อาศัย
๑. ถ้าปลูกเรือนในปีชวด ให้เอาไม้ราชพฤกษ์ปักเสา จึงยกเสา
๒. ถ้าปลูกเรือนในปีฉลู ให้เอาต้นกล้วยและผ้าขาวพันที่ปลายเสาเอก จากนั้นเอาไม้มะตูมปักต้นเสา ๓ กิ่งแล้วจึงยกเสา
๓. ถ้าปลูกเรือนในปีขาล ให้เอาข้าว ๓ กระทง น้ำ ๓ ขัน รดต้นเสาแล้วจึงยกเสาขึ้น
๔. ถ้าปลูกเรือนในปีเถาะ ให้เอาใบตะเคียน ใบเฉียงพร้าหอมและต้นกล้วยห่อที่ปลายเสาแล้วค่อยยกเสาขึ้น
๕. ถ้าปลูกเรือนในปีมะโรง ให้เอาใบมะกรูดพันรอบปลายเสา จึงค่อยยกเสา
๖. ถ้าปลูกเรือนในปีมะเส็ง ให้เอาใบทอง ๒ กิ่งผูกที่ปลายเสา จากนั้นเอาข้าว ๓ กระทง ธูปเทียนบูชา ค่อยยกเสา
๗. ถ้าปลูกเรือนในปีมะเมีย ให้เอาใบขี้เหล็กมากวาดตั้งแต่ปลายเสาลงมาจนถึงต้นเสา ๓ ครั้ง และเอาน้ำสะอาดรดปลายเสา
ครั้นไก่ขันแล้วจึงยกเสา
๘. ถ้าปลูกเรือนในปีมะแม ให้เอาใบเงิน ๓ ใบ ใบหมากผู้ ๓ ใบ ใบหมากเมีย ๓ ใบ ต้นกล้วย ต้นอ้อยใส่ในหลุม แล้วจึงยกเสา
๙., ๑๐. ถ้าปลูกเรือนในปีวอกหรือปีระกา ให้เอาเทียน ๓ เล่ม เอาไปผูกข้างเสาหัวนอนแล้วจึงยกเสา
๑๑., ๑๒. ถ้าปลูกเรือนในปีจอหรือปีกุน ให้เอาข้าวตอกและใบบัวบกรองต้นเสา แล้วจึงยกเสา
ตำรายกเสาเรือน
หากคุณจะสร้างบ้านเรือน และยกเสาเอก ควรกระทำให้ถูกตามตำราดังนี้
ยกเสาเรือนเดือน ๔, ๕, ๖ ให้ยกเสาเอกทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) จะเกิดโชคลาภ เป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย
ยกเสาเรือนเดือน ๗, ๘, ๙ ให้ยกเสาเอกทางทิสหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) ผู้อยู่อาศัยในเรือน ปลอยภัยไร้โรคภัย มีโชคลาภดีนักแล
ยกเสาเรือนเดือน ๑๐, ๑๑, ๑๒ ให้ยกเสาเอกทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) จะเกิดสิริมงคล พ้นเคราะห์ภัย ไม่อับจน
ยกเสาเรือนเดือน ๑, ๒, ๓ ให้ยกเสาเอกทางทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จะอยู่ดีกินดี เป็นมหาสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัยเรือนนั้น
หมายเหตุ:
โบราณาจารย์ทั้งหลายท่านว่าไม่ควรปลูกเรือน สร้างบ้านที่อยู่อาศัย ในเดือน ๑, ๓, ๕, ๗, ๘, ๑๐, ๑๑
เดือนที่ควรปลูกเรือนคือเดือน ๒, ๔, ๖, ๙, ๑๒
- เมื่อธูปที่โต๊ะสังเวยไหม้หมดดอก ให้ลาเครื่องสังเวยได้ว่า "เสสัง มังคะลัง ยาจามิ"
- หน่อกล้วย อ้อย เมื่อช่างเอาลงจากเสาแล้ว ให้นำไปปลูกไว้ในที่ต้องการ เพื่อเสี่ยงทายว่าจะงอกงามเพียงใด
- ถ้าจัดโต๊ะสังเวยไม่ได้ จะจัดเป็นสำรับบูชาพระภูมิเจ้าที่ธรรมดาก็ได้ และสิ่งประกอบอื่น ๆ ก็เลือกเอาเท่าที่จำเป็นและหาได้ง่าย
หมายเหตุ ** ความเชื่อโดยความหมายของไม้มงคล 9 อย่าง
ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา
ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน
ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่างๆ
ไม้ทองหลาง หมายถึง การมีทรัพย์สินเงิน มีเงินทองใช้ไม่ขัดสน
ไผ่สีสุก หมายถึง มีความสุขกายสบายใจ ไร้ทุกข์โศกโรคภัย
ไม้ทรงบาดาล หรือขี้เหล็กหวาน หมายถึง ความมั่นคง หรือทำให้บ้านมั่นคงแข็งแรง
ไม้สัก หมายถึง ความมีศักดิ์ศรี ความมีเกียรติ อำนาจบารมี คนเคารพนับถือและยำเกรง
ไม้พะยูง หมายถึง การพยุงฐานะให้ดีขึ้น
ไม้กันเกรา หมายถึง ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ตำเสา ซึ่งอาจหมายถึงทำให้เสาเรือนมั่นคง